ธปท.สำนักงานภาคใต้”เผย”เศรษฐกิจภาคใต้ชายแดน ”ดิ่ง” พิษวิกฤติโควิด-19 ธปท. ชี้แรงงานเสี่ยงตกงานกว่า 1.7 ล้านคน เครื่องยนต์เศรษฐกิจจุดไม่ติดทุกตัว “ชี้” อุตสาหกรรมแห่งอนาคตช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจอนุภูมิภาคได้ กลุ่มคัดค้านชูป้ายให้ยกเลิกโครงการ
ธปท.สำนักงานภาคใต้”เผย”เศรษฐกิจภาคใต้ชายแดน ”ดิ่ง” พิษวิกฤติโควิด-19 ธปท. ชี้แรงงานเสี่ยงตกงานกว่า 1.7 ล้านคน เครื่องยนต์เศรษฐกิจจุดไม่ติดทุกตัว “ชี้” อุตสาหกรรมแห่งอนาคตช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจอนุภูมิภาคได้ กลุ่มคัดค้านชูป้ายให้ยกเลิกโครงการ
วันที่ 6 มิ.ย.63 รายงานข่าวว่าที่ห้องประชุม โรงแรมบุรีศรีภู อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ร่วมกับสภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม ชมรมธนาคารไทย ชมรมนักธุรกิจรุ่นใหม่คณะกรรมการที่ปรึกษา การบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 150 คน ประชุมเชิงปฏิบัติการ “กระบวนการสร้างการรับรู้และสร้างการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในพื้นที่การขับเคลื่อน โครงการในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ อ.จะนะ จ.สงขลา” เพื่อรับฟังและนำเสนอความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่อทิศทางการพัฒนาระดับอนุภูมิภาค หลังพบว่าสถานการณ์เศรษฐกิจของพื้นที่ที่ผ่านมา ประสบปัญหาทั้งจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย จากราคาผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว ตกต่ำลง
จากข้อมูลเมื่อต้นปี 60 พบว่าข้อมูลการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภาคใต้ มีการขยายตัวเพียงร้อยละ 1.3 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภาคใต้และประเทศไทยที่มีอัตราตัวเลขร้อยละ 4 มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องจากสาเหตุสินค้าเกษตรมีราคาตกต่ำต่อเนื่อง
นายสันติ รังสิยาภรณ์รัตน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้กล่าวว่าข้อมูลเศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจภาคใต้และเศรษฐกิจ จ.สงขลา ทั้ง 3 ส่วน ล้วนได้รับผลกระทบจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรน่า-2019 (โควิด-19) ตัวเลขเศรษฐกิจในภาพรวม เมื่อ เม.ย.63 รายได้ของประเทศจากเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจ 5 ตัวหลัก นักท่องเที่ยวต่างประเทศ การส่งออก การผลิตภาคอุตสาหกรรม การบริโภคภาคเอกชนและการลงทุน ภาคเอกชน ในภาพรวมหดตัวสูงขึ้นและหดตัวต่อเนื่อง
นายสันติกล่าวว่าเหลือเพียง 1 เครื่องยนต์คือ การใช้จ่ายภาครัฐที่มีการขยายตัวต่อเนื่อง จากรายจ่ายประจำและการลงทุน ส่งผลต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศทำให้เกิด ภาวะเงินเฟ้อติดลบและจำนวนการว่างงานเพิ่มมากขึ้น
นายสันติกล่าวว่าที่น่าห่วง คือ โครงสร้างเศรษฐกิจภาคใต้กว่าร้อยละ 60 ยังคงพึ่งพาภาคการเกษตร ท่องเที่ยว การค้าและการผลิตเป็นหลัก และเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจทั้งหมดหดตัวมากขึ้นและสูงขึ้น ในขณะที่รายจ่ายภาครัฐกลับมาหดตัวสวนทางกับประเทศ”
นายสันติกล่าวว่าการคาดการณ์กันว่า จะมีกลุ่มแรงงานด้านการค้าส่ง-ค้าปลีก ที่พักโรงแรมและบริการอาหาร และการผลิตที่มีความเสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้างกว่า 1.7 ล้านคน แม้ว่ารัฐจะมีมาตรการการคลังเยียวยาแรงงาน ทั้งแรงงานอิสระ แรงงานในระบบประกันสังคม แรงงานเกษตร กลุ่มคนเปราะบาง มาตรการการเงิน และสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการและประชาชนและมาตรการอื่นๆ ก็เป็นเพียงมาตรการระยะสั้นเท่านั้น
“ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญกับมาตรการฟื้นฟูต่อจากการเยียวยา ไม่ว่าจะเป็นการฟื้นฟูกำลังซื้อในระบบ เศรษฐกิจ แรงงาน ภูมิคุ้มกันให้ภาครัวเรือนและ SMEs ที่เปราะบาง แต่ที่สำคัญที่สุด ต้องรับมือความท้าทาย ของโลกหลังโควิด-19 ที่จะก่อให้เกิดธุรกิจ Sector ใหม่และการโยกย้ายคนและทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งพื้นที่ที่มีความพร้อมสูงสุด จะสามารถใช้วิกฤตินี้ให้เป็นโอกาสในการพัฒนาเข้าสู่ยุคโควิด”
นายคณิต แสงสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ได้มีการประชุมทางไกลผ่านสัญญาณโทรทัศน์(Video Television Conference: VTC) แลกเปลี่ยน ประสบการณ์การพัฒนาในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก
นำเสนอความก้าวหน้าการพัฒนาระเบียง เศรษฐกิจภาคตะวันออกตามเป้าหมายของรัฐบาลที่จะนำไปสู่การพัฒนาเชิงโครงสร้างทั้งระบบของพื้นที่
“การเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของประเทศ การส่งเสริม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายเป้าหมายของ ประเทศเพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) ขณะนี้ได้มีความก้าวหน้าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค เพื่อเพิ่มศักยภาพรองรับการลงทุน และ การพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจและการอำนวยความสะดวกต่างๆ ในพื้นที่รวมทั้งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการจัดระบบการสะสมเทคโนโลยีเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม”
นายชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการ ศอ.บต.กล่าวว่าความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่จากการมีเครื่องยนต์เศรษฐกิจใหม่(Growth Engine) การดำเนินการในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมพื้นที่ อ.จะนะเพื่อเป็นเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ที่กำหนดให้มีเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะที่จะต้องให้ความสำคัญกับ กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ช่วยกันจัดทำกรอบการบริหารและการพัฒนาพื้นที่หลายเรื่องเชื่อมโยงกันเช่น เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม การต่างประเทศ สาธารณสุข คุณภาพชีวิต สังคม จิตวิทยา สิ่งแวดล้อม
“เป็นธรรมนูญที่สำคัญของพื้นที่เพื่อให้ทุกภาคส่วนดำเนินการไปร่วมกันและ เกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่าย การดำเนินการตั้งแต่เมื่อวันที่ 7 พ.ค.62 จึงเป็นกระบวนการรับ ฟังความคิดเห็นของประชาชนในเรื่องการกำหนดกรอบและแนวทางการบริหารพื้นที่ เมื่อได้กรอบแล้วจึงได้มี การเสนอคณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ความเห็นชอบและออกประกาศเมื่อ ธ.ค.62 การดำเนินการ เมื่อได้สังเคราะห์ข้อเสนอไปสู่แนวทางการจัดทำ โครงการของรัฐเพื่อให้สอดรับกับความจำเป็นของพื้นที่ จะได้เสนอแผนงานและโครงการไปยังส่วนราชการที่มี อำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ดำเนินการจัดทำโครงการอย่างเป็นรูปธรรม”
นายชนธัญ กล่าวว่าการแก้ไขปัญหาสิทธิในที่ดินทำกินของประชาชน การแก้ไขปัญหาการว่างงาน การศึกษาของเด็กและเยาวชน การจัดที่จอดเรือ ชุมชน การสร้างงาน สร้างอาชีพที่สอดคล้องกับภูมิศาสตร์ของพื้นที่เช่น สนับสนุนให้มีกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ อาหารทะเล
“ไม่มีการจัดสรรงบประมาณของรัฐไปเอื้อต่อภาคเอกชนอย่างใด หากจำเป็นจะต้องมีการจัดสรรงบประมาณของรัฐในระยะต่อไป จะต้องดำเนินการในส่วนที่เป็นประโยชน์ต่อ การพัฒนาเพื่อประชาชน ให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเท่านั้น แม้ว่าจะใช้งบประมาณถึงแสนล้าน แต่เพื่อประโยชน์และความสุขของประชาชนในพื้นที่ จะต้องดำเนินการให้เห็นผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว จะมีการบริหารจัดการเพื่อประโยชน์ของประชาชน เช่น กองทุนที่พื้นที่ออกแบบและบริหารจัดการกันเอง”
นายชนธัญ กล่าวว่างบประมาณของเอกชน การเตรียมการด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เข้าสู่แรงงานทั้งระบบ การยกระดับงาน สาธารณสุขให้มีมาตรฐานระดับสูงต่อการรองรับประชาชนควบคู่ไปกับการเสริมพลังอาสาสมัครสาธารณสุขในการทำงานปฐมภูมิ
รายงานข่าวว่ามีตัวแทนภาคเอกชนเสนอข้อมูลแนวทางการพัฒนาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ อ.จะนะ จะต้องมีการสร้างท่าเรือเพื่อการพาณิชย์ การเป็นศูนย์กลางพลังงานไฟฟ้า อุตสาหกรรมสีเขียว อุตสาหกรรมฐานชีวภาพ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารปลอดภัยและอุตสาหกรรมขนส่งทางราง ที่จะมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต ที่ทุกประเทศต่างต้องเชื่อมโยงเข้าหากัน การเป็นครัวอาหารโลกและพลังงาน
“ผู้นำภาคเอกชน 2 บริษัท ได้แสดงเจตจำนงร่วมกันอย่างชัดเจนในการไม่ลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีตามที่หลายฝ่ายวิตกกังวล เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกได้เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในยุคหลัง โควิด-19 บริษัทฯ ปรับตัวเปลี่ยนแปลงการทำธุรกิจ”
ตัวแทนภาคเอกชนกล่าวว่าการเจริญเติบโตพร้อมกับภาคธุรกิจและประชาชนในพื้นที่อย่างสร้างสรรค์ เป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ประชาชนและภาคเอกชนอยู่รอดบนฐานการได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ต่อประเด็นกระบวนการทำงาน จะจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นทั้งในส่วนของการปรับผังสีเพื่อรองรับการลงทุนและการจัดทำ รายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
“ประชาชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมเข้ามา เสนอความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะ เพื่อให้การทำงานเป็นไปด้วยความสบายใจทุกฝ่าย อะไรที่ประชาชนยัง ไม่เห็นด้วยก็จะต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบด้วยกระบวนการสร้างความไว้วางใจและร่วมดำเนินการไป พร้อมกัน ที่สำคัญผู้บริหารระดับสูงสุด ได้มีเอกสารที่แสดงเจตนารมณ์ในการดูแลและช่วยเหลือประชาชน เพื่อให้เติบโตไปพร้อมกันแล้ว ก็ขอให้ประชาชนทุกภาคส่วนร่วมกันศึกษาและเสนอความคิดเห็นที่เป็นรูปธรรม เพื่อนำไปสู่การทำงานร่วมกันในระยะต่อไปได้
รายงานข่าวว่าระหว่างการรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน ได้มีกลุ่มเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น ประมาณ 30 คน ได้พากันมายืนรวมตัวกันที่บริเวณด้านหน้าโรงแรม เพื่อมาสังเกตการณ์ ชูแผ่นป้ายคัดค้านโครงการ และอ่านแถลงการณ์ ให้ยกเลิกโครงการเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคตจะนะ การร่วมกับกลุ่มทุมพยายามรวบรัดขั้นตอนกระบวนการดำเนินงาน รวมทั้งการที่ให้รัฐบาลอนุมัติโครงการมาจากข้างบนก่อนแล้วพยายามจัดเวทีตามหลังแทนที่จะฟังเสียงของคนในพื้นที่ และการตั้งข้อสังเกตว่า โครงการนี้เป็นโครงการขนาดใหญ่ และอาจจะเป็นการทิ้งทวนของรัฐบาลนี้ด้วย ได้มีการสลายตัวไปหลังการอ่านแถลงการณแล้วเสร็จ เพื่อแสดงจุดยืนที่จะให้มีการยกเลิกโครงการฯ
นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา