นิพนธ์ นำองค์การจัดการย้ำเสีย เชื่อมชุมชน โว น้ำหลังผ่านบำบัดใช้ประโยชน์ในภาคเกษตรได้อย่างปลอดภัย หวัง อปท. ทั่วประเทศร่วมโครงการรักษ์สิ่งแวดล้อม ชี้ ความสำเร็จอยู่ที่การร่วมมือของชุมชน

นิพนธ์ นำองค์การจัดการย้ำเสีย เชื่อมชุมชน โว น้ำหลังผ่านบำบัดใช้ประโยชน์ในภาคเกษตรได้อย่างปลอดภัย หวัง อปท. ทั่วประเทศร่วมโครงการรักษ์สิ่งแวดล้อม ชี้ ความสำเร็จอยู่ที่การร่วมมือของชุมชน

 


เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 5 พ.ย.63 ที่ริมคลองแม่ข่า บริเวณชุมชนหัวฝาย ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมนายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.) และคณะร่วมลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมการดำเนินงานการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน แก้ไขปัญหาน้ำเสีย และการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยมีนายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ผู้แทนนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชนและชาวบ้านในชุมชนย่าน ดังกล่าว


นายนิพนธ์ กล่าวว่า “โครงการขององค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.)ในพื้นที่เชียงใหม่ที่ได้ร่วมกับเทศบาลนครเชียงใหม่ในการดูแลปัญหาน้ำเสียในชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีและลดปริมาณน้ำเสีย จึงต้องลงพื้นที่สร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชนว่าทำไมจึงต้องสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย มีผลดีอย่างไรต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งดึงทุกภาคส่วนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการร่วมมือ ร่วมใจเพื่อประโยชน์ร่วมกัน เพราะหน่วยงานภาครัฐไม่สามารถทำให้สำเร็จได้เพียงลำพัง ถ้าชุมชนไม่ได้ให้ความร่วมมือ จึงเน้นให้ความสำคัญในการให้ความรู้ ความเข้าใจ กับผู้นำชุมชนและชาวบ้านในการป้องกัน แก้ไขปัญหาน้ำเสีย และสร้างความตระหนักรู้ในการช่วยกันบำบัดลดความสกปรกของน้ำเสีย ก่อนปล่อยน้ำใช้จากครัวเรือนลงสู่แม่น้ำลำคลอง เพื่อการร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อมโดยการจัดการน้ำเสียในพื้นที่เทศบาลนครเชียงใหม่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง”

“ซึ่งปัจจุบันหลายครัวเรือนได้มีการติดตั้งบำบัดน้ำเสียไปแล้ว 100 ครัวเรือน คาดว่าปีนี้จะสามารถติดตั้งได้ทั้งหมดเพื่อให้เป็นชุมชนตัวอย่าง และยังได้ติดตามการบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่ของ อจน.ร่วมกับเทศบาลนครเชียงใหม่ มีพื้นที่ที่สามารถรองรับปริมาณน้ำเสียได้ราว 50,000 คิว/วัน ซึ่งมีขีดความสามารถในการรองรับน้ำเสียจากพื้นที่ต่างๆได้อีกด้วย ส่วนในอนาคตขอเชิญชวนองค์กรปกครองท้องถิ่น(อปท.) อื่นๆเข้าสู่ระบบการบำบัดน้ำเสียร่วมกัน จะสามารถลดค่าใช้จ่ายและทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงขอให้ประชาชนมั่นใจได้ว่า สามารถนำน้ำที่ผ่านการบำบัดที่ได้คุณภาพตามมาตรฐานกลับมาใช้ประโยชน์เป็นแหล่งน้ำสำรองสำหรับใช้ในการเกษตรกรรมได้อย่างปลอดภัย ทำให้เห็นได้ว่าน้ำเสียสามารถอยู่กับชุมชนได้” นายนิพนธ์ กล่าว

นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา