(รายงานพิเศษ)  เมืองต้นแบบที่ 4 จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ข้อสำคัญอยู่ที่ “ศอบต. ต้องไม่กลัดกระดุมเม็ดแรกผิดพลาด”

(รายงานพิเศษ)  เมืองต้นแบบที่ 4 จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ข้อสำคัญอยู่ที่ “ศอบต. ต้องไม่กลัดกระดุมเม็ดแรกผิดพลาด”

 

 

เชื่อว่ามีคนน้อยคนนัก ที่ไม่ต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ทั้งกับของตนเอง ครอบครัว และถิ่นที่อยู่อาศัย เนื่องจากเราหนีการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะถึงแม้เราจะไม่เปลี่ยนแปลงตนเอง แต่บางครั้งความเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลที่เกิดจากการรุกคืบของสังคม ที่ยากที่จะต้านไว้ได้ ซึ่งในที่สุดแล้ว ทุกคนในสังคมก็จะต้องอยู่กับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ใช่แล้ว ผู้เขียนกำลังเขียนถึง ความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นที่ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ตามนโยบายของรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย ในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่ง ในระยะหลายสิบปีที่ผ่านมา ภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็น ตอนบน ตอนกลาง ตอนล่าง ฝั่งอันดามัน หรือ อ่าวไทย ไม่สามารถมี”เมกโปรเจก” เกิดขึ้น แม้แต่โครงการเดียว

ซึ่งความ ผิดพลาดทั้งหมด เกิดจาก”ปัจจัย”อะไรบ้าง ขอละไว้ที่จะไม่กล่าวถึง เพราะไม่มีประโยชน์อะไรที่จะไป”พื้นฝอยหาตะเข็บ”หรือ “กวนน้ำให้ขุ่น”

แต่…มีอยู่เรื่องหนึ่งที่ต้องพูดถึงคือ”เมกโปรเจก” ใหญ่ๆ ที่สร้างความเจริญให้กับภาคใต้เกิดไม่ได้มาจากความ”หน้อมแหม้น” ของรัฐบาลแต่ละรัฐบาล ที่ เกรงกลัว “เอ็นจีโอ” มากเกินความจำเป็น และไม่ได้โครงการไหนที่ “เอ็นจีโอ” จะไม่คัดค้าน เมื่อ รัฐบาล หวาดกลัว เอ็นจีโอ และ ไม่ต้องการเห็น ความ ขัดแย้ง จึงมีการ พับเก็บ หรือ ชะลอ โครงการเอาไว้ จนสุดท้ายความ เจริญในด้านการลงทุน จึงไม่เกิดขึ้นบนแผ่นดินภาคใต้ แม้แต่ครั้งเดียว

เช่นเดียวกับ โครงการ อุตสาหกรรมเมืองต้นแบบที่ 4 หรือ” เมืองอุตสาหกรรมแห่งอนาคต” ที่เพิ่งเริ่ม”ตั้งไข่” โดยอยู่ในระยะการทำความเข้าใจกับคนในพื้นที่เท่านั้น ก็ถูกคัดค้าน ไม่เห็นด้วย และประกาศที่จะ”ไม่เอา”เมืองต้นแบบที่ 4 โดยอ้างว่า จะเป็นการ ทำลายความสวยงามของทะเล และ ทำลายอาชีพประมงพื้นบ้าน ทำให้เกิดปัญหากับ สุขภาพพลานามัย ของผู้คน

 

ซึ่งถ้าศึกษาให้ดีจะเห็นว่า ณ วันนี้ ศอ.บต. ได้เข้าไปพัฒนาอาชีพของประมงพื้นบ้านที่ถูกทอดทิ้งจากหน่วยงานของรัฐมานาน ด้วยการเข้าไปสร้างท่าเทียบเรือประมงขนานเล็ก หรือประมงพื้นที่ในพื้นที่ ซึ่งประชาชนมีการทำประมงเป็นอาชีพหลัก นั้นแสดงว่า ไม่ว่าจะมีเขตอุตสาหกรรมหรือไม่มี อาชีพประมงพื้นบ้านก็ต้องมีต่อไป และเป็นอาชีพดั้งเดิมที่ต้องได้รับการส่งเสริมจากรัฐ

นอกจากการเริ่มที่จะพัฒนาอาชีพประมงพื้นที่ด้วยการจัดสร้างท่าเรือเพื่อยกระดับอาชีพและคุณภาพชีวิตแล้ว ยังมีการให้ผู้มีอาชีพประมงพื้นที่บ้านรวมกลุ่มเพื่อการส่งเสริมการแปรรูป สัตว์น้ำ ในรูปแบบต่างๆ เพื่อส่งเสริมอาชีพของกลุ่มแม่บ้าน และเพิ่มมูลค่าของสัตว์น้ำให้สูงขึ้น

ในส่วนของผู้เป็นเกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งปัญหาใหญ่คือการไม่มีเอกสารสิทธิในที่ทำกิน และบางรายแม้แต่ที่ปลูกบ้านก็ไม่มีเอกสารสิทธิ์ เพราะตั้งอยู่ในที่สาธารณประโยชน์ ในทุ่งเลี้ยงสัตว์ และอื่นๆ ซึ่งเป็นที่ดินหลวง และ ศอ.บต.ก็ได้ดำเนินการให้ กรมที่ดิน ดำเนินการ ตรวจสอบ เพื่อการออกเอกสารสิทธิ์ และ เอกสารการครอบครองเพื่อทำกิน เพื่อให้สามารถ ครอบครองได้ถูกต้องตามกฎหมาย นั่นเท่ากับเป็นการ พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนทุกคนให้ดีขึ้นกว่าเดิม

ตลอดทั้งการใช้ สภาสันติสุข เพื่อทำโครงการ สภาสันติสุขขนาดเล็ก เพื่อการพัฒนาตามความต้องการของคนในพื้นที่ ก็คือความพยายามที่จะใช้ กลไก ของรัฐ ในการให้ คนในพื้นที่ เข้าถึง และร่วมคิดร่วมทำ รวมออกแบบ เพื่อการพัฒนาพื้นที่ พัฒนาคน นั่นเอง

รวมทั้งการทำการสำรวจ เยาวชน ในพื้นที่ ที่ทำการศึกษาอยู่ในสถานศึกษา เพื่อจะได้เห็นตัวเลขที่แท้จริงของผู้ที่จะ จบหลักสูตรในอนาคต ว่าจะสามารถ ป้อนให้กับ ตลาดอุตสาหกรรม ในพื้นที่ตรงตามที่ต้องการหรือไม่ โดย ศอ.บต. ได้ มอบหมายให้ วิทยาลัย ในพื้นที่ เป็นผู้ดำเนินการร่วมกับภาคเอกชน ที่จะเข้ามาลงทุนในอนาคต

สิ่งเหล่านี้ ไม่เคยเกิดขึ้น ในพื้นที่ของภาคใต้ แสดงให้เห็นว่า ศอ.บต. มีการวางแผนที่ดี ตั้งแต่การพัฒนาอาชีพ พัฒนาพื้นที่ พัฒนาผู้คนในพื้นที่ เพื่อให้สามารถ”ตอบโจทย์” ได้ว่าการพัฒนาที่จะเกิดขึ้น ( ถ้ามี ) นอกจาก กลุ่มทุน และ ประเทศ ที่จะได้ประโยชน์แล้ว ประโยชน์อีกส่วนหนึ่ง ก็ย่อมตกอยู่กับประชาชน โดยเฉพาะคนในพื้นที่ก่อน คนนอกพื้นที่

เพียงแต่วันนี้ ที่ยังมีคน”บางส่วน”ซึ่งอยู่กับฟากฝั่งของ “เอ็นจีโอ” ที่ไม่เคยรับฟังรายละเอียดของโครงการ โดยอ้างว่าถูกกีดกัน และการจัดเวทีฟังความคิดเห็นไม่เปิดกว้าง จึงไม่เข้าร่วม เป็นเพียงข้ออ้างเพื่อการ”เห็นต่าง” เท่านั้น หาใช้ข้อเท็จจริงทั้งหมดไม่

และที่สำคัญที่ต้องมีการ “แยกแยะ” ให้ชัดขึ้นไปอีก คือ มีกลุ่ม”เห็นต่าง” ที่เป็น”ของเทียม” ซึ่งมีเรื่อง การเมืองท้องถิ่น เรื่อง ผลประโยชน์ที่ต้องการเรียกจาก ศอ.บต. เพื่อการ”ต่อรอง” ที่จะไม่คัดค้าน ร่วมอยู่ในกลุ่มผู้คัดค้านที่เชื่อข้อมูลของ เอ็นจีโอ รวมอยู่ด้วย ซึ่ง ศอ.บต. ต้องมีการ “สกรีน” คนที่ คัดค้านแต่ละกลุ่ม เพื่อให้สังคมเห็นชัด ถ้าการ คัดค้าน มีเหตุผลหรือไม่ อย่างไร

ประเด็นของความ ไม่เข้าใจ และการ”เห็นต่าง”นั้น ศอ.บต. ต้องทำความเข้าใจใหม่กับคนในพื้นที่ ด้วยการสร้าง ขบวนการความเข้าใจในโครงการอย่างละเอียดด้วยการ”เปิดกว้าง” ให้ทุกคนทุกครัวเรือน ได้มีรายละเอียดของโครงการเท่าเทียมกัน ต้องให้ทุกคน รู้เรื่องของ “เมืองต้นแบบ” ให้ตกผลึก จะด้วยการ จัดเวทีย่อย ด้วยการ เคาะประตูบ้าน หรือด้วยวิธีใด ก็แล้วแต่ ซึ่ง ณ วันนี้ ล้วนมีช่องทางของการ สื่อสาร ที่มากมาย ในการเข้าถึงข้อมูล และการ เข้าถึงประชาชน

หลังจากที่คนในพื้นที่ต่าง รับรู้ถึงความเป็นมาของโครงการแล้ว จึงจะมีการเปิดเวทีเพื่อรับฟังความคิดเห็น และข้อซักถามของประชาชน ซึ่งไม่ใช่การจัดครั้งเดียวแล้วผ่านไป แต่ต้องมีการจัดหลายๆครั้ง ในทุกกลุ่มของสาขาอาชีพ รวมทั้งต้องให้ความสำคัญกับคนนอกพื้นที่ อ.จะนะด้วย นั่นหมายความว่า คนในจังหวัดสงขลาทุกสาขาอาชีพ จะต้องรับรู้ถึงรายละเอียดของ “เมืองต้นแบบที่ 4 “แห่งนี้ อย่างเท่าเทียม

และที่สำคัญคือ ต้องบอกให้ชัดเจนว่า นักธุรกิจ นักลงทุน ในจังหวัดสงขลาได้อะไรที่เป็นประโยชน์กับพวกเขา นักเรียน นักศึกษาที่จบมาจะได้อะไรจากเมืองต้นแบบนี้ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทำให้คนสงขลา และจังหวัดสงขลาได้อะไรบ้างที่เป็นประโยชน์

หลังจากที่ เสร็จขบวนการเหล่านี้แล้ว จึงค่อยมีเวทีเพื่อฟังความคิดเห็นจาก กลุ่มคนในแต่ละสาขาอาชีพ เพื่อให้ทุกฝ่ายได้ร่วมกัน ออกแบบ กับฝ่ายรัฐและฝ่ายลงทุน โดยที่ให้ภาคประชาชน ในพื้นที่ มีบทบาทในรูปแบบ คณะกรรมการ กำกับดูแล หรือจะเป็นแบบไหนก็แล้วแต่ความต้องการของคนในพื้นที่

 

ศอ.บต. ต้องสร้างความชอบธรรมในขบวนการเริ่มต้นโดยต้องเริ่มที่”กระดุมเม็ดแรก” ที่ต้องไม่กลัดผิดที่ และต้องสร้างพลังการสนับสนุนจาก กลุ่มพ่อค้า นักธุรกิจ นักลงทุน ในจังหวัด เพื่อให้เป็น พลังในการ ขับเคลื่อน เมืองต้นแบบให้กับ ศอ.บต. เพื่อที่จะได้มี พันธมิตร เพื่อหนุนเสริม

รวมทั้งการสร้างความเข้าใจกับ นักวิชาการ สถานศึกษา เพื่อให้เห็นประโยชน์ หรือ คุณค่า ของการตั้ง เขตอุตสาหกรรมใหม่ หรือ “อีอีซี” ของภาคใต้ในครั้งนี้ และที่สำคัญ ต้องให้ความรู้ และตอบคำถามในประเด็นของ”สิ่งแวดล้อม” มลภาวะ และ”สุขภาพพลานามัย”ของผู้คนหลังการเกิดขึ้นของ เมืองต้นแบบที่ 4 และอย่าตอบว่า ไม่มี เพราะเป็นเรื่องที่ เป็นไปไม่ได้

เพราะการ พัฒนา การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ เปลี่ยนแปลงสังคม ย่อมมีผลกระทบทั้งสิ้น เพียงแต่ผลกระทบที่เกิดขึ้น ต้องมีการจ่ายค่าตอบแทนที่คุ้มค่า และต้องทำให้ คุณภาพชีวิตของผู้ที่ถูกเปลี่ยนแปลงดีขึ้นกว่าเดิม

เพราะสุดท้ายแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการยินยอมรับความเปลี่ยนแปลง หรือ ปฏิเสธที่จะให้มีการเปลี่ยนแปลง สุดท้ายเมื่อถึงวันหนึ่ง ไม่มีใครที่จะยืนอยู่กับ ปัจจุบัน โดยการฝืนกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน

 

นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา