(รายงานพิเศษ)จากจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาล กับความพยายามของเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นใต้ภายใต้ แบรนด์ “ไครียะห์:”เด็กสาวจากท้องทะเล ผู้ถูกกำกับโดย เอ็นจีโอ ที่ต้องการล้ม เมืองต้นแบบที่ 4 ที่ อ.จะนะ จ.สงขลา
(รายงานพิเศษ)จากจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาล กับความพยายามของเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นใต้ภายใต้ แบรนด์ “ไครียะห์:”เด็กสาวจากท้องทะเล ผู้ถูกกำกับโดย เอ็นจีโอ ที่ต้องการล้ม เมืองต้นแบบที่ 4 ที่ อ.จะนะ จ.สงขลา
เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา บรรจง นะแส ในนามเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น ได้ร่อนจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาล ผ่าน Facebook ส่วนตัว โดยหยิบยก 10 เหตุผลที่ต้องให้มีการยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี 2 ครั้งที่เกี่ยวข้องกับโครงการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ไปสู่เมืองต้นแบบที่ 4 อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ในฐานะเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมแห่งอนาคต รวมทั้ง ให้หยุดเวทีพิธีกรรมหนุนโครงการของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต. ที่จะดำเนินการจัดขึ้นในวันที่ 11 กรกฎาคม 2563 ที่จะถึงนี้ คำอ้างดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นโครงการมิได้ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นโครงการตามมติคณะรัฐมนตรีในยุค คสช. ก่อนที่แถลงยุติบทบาท การจัดเวทีที่ถือเป็นพิธีกรรมของหน่วยงานรัฐและประชาชนที่ร่วมกัน ศอ.บต. การเอื้อประโยชน์เอกชน และปิดกั้นการแสดงออกของประชาชนในพื้นที่ที่เห็นต่างและจำกัดเฉพาะของพื้นที่ เป็นต้น แม้ว่าประเด็นทั้ง 10 ข้อเหล่านั้น จะได้มีตัวแทน ศอ.บต. และประชาชนชี้แจงเป็นข้อมูลชุดเดียวกันอย่างต่อเนื่องไปพร้อมๆ กับการถามซ้ำแล้วซ้ำเล่าของฝ่ายต่อต้านก็ตาม
เท่าที่ผู้เขียนทราบ ทั้งจากการสัมภาษณ์ผ่านสื่อหลายแขนง เอกสารที่แจกจ่ายให้กับประชาชนในหลายโอกาสและข้อมูลที่ชี้แจงต่อกลุ่มประชาชนในหลายเวทีนั้น อาจไล่เรียงตอบได้ว่าแบบเปิดคำสัมภาษณ์ตามประเด็นถามตอบในหลายครั้ง หลายโอกาสสรุปได้ว่า
โครงการดังกล่าว เป็นโครงการที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา โดยอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ถูกผูกในแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” มาตั้งแต่กรกฎาคม 2559 ก่อนเป็นมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2559 อย่างไรก็ตาม การดำเนินการถูกกำหนดเงื่อนไขไว้ว่าจะดำเนินการภายหลังเมืองต้นแบบทั้ง 3 เมือง เดินหน้าไปในระดับหนึ่งแล้ว ซึ่งก็ประจวบเหมาะกับเวลาในห้วงเดือน พฤษภาคม 2562 ทั้งนี้ ในรายละเอียดก่อนที่จะมีมติ ครม. เมื่อ 7 พฤษภาคม 2562 ก็จะเห็นได้ว่ามีการนำเสนอผ่านที่ประชุมที่มีผู้แทนหลายภาคส่วนร่วมกันพิจารณาหลายต่อหลายครั้ง
คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 นั้น ก็ให้ความเห็นชอบเป็นเพียงหลักการเท่านั้น พร้อมกับสั่งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง นั้นหมายถึง การเสนอเชิงนโยบายที่จะให้ทุกภาคส่วนไปร่วมกันวางแผนการทำงานร่วมกัน ที่สำคัญ สั่งการให้ไปสื่อสารสร้างความเข้าใจกับประชาชนและสร้างความร่วมมือให้ได้มากที่สุด สำหรับการทำงานนั้น ให้ใช้อำนาจตามมาตรา 10 ประกอบมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 เป็นกรอบการทำงานตามกฎหมายที่สำคัญเพราะต้องการให้เชื่อมโยงการทำงานทุกมิติทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ศาสนา พหุสังคม การเมือง ฯลฯ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการพัฒนาที่ครอบคลุมทุกมิติเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนโดยสูงสุด
สำหรับการทำงานในระยะต่อไป ก็จะเริ่มกระบวนการศึกษาในพื้นที่ตามที่กฎหมายกำหนด เช่น การศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งเป็นรายงานการศึกษาที่สำคัญมากที่สุดว่าจะทำอะไร พื้นที่ไหน ได้มากเท่าไร ผลกระทบทั้งบวกและลบเป็นอย่างไร ก่อนเสนอให้ประชาชนร่วมคิดร่วมออกแบบ ที่สำคัญ ยังจะมีรายงานการศึกษาที่ครอบคลุมการเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรมนุษย์ทั้งด้านการศึกษา แรงงาน การศึกษายกระดับงานสาธารณสุขในพื้นที่ การเตรียมความพร้อมของประชาชนและการเชื่อมโยงโอกาสการพัฒนาเชิงพื้นที่ ทั้งการจัดตั้งกองทุน การบริหารจัดการพื้นที่ ผ่าน ธรรมนูญชุมชนซึ่งได้เป็นเรื่องที่กำหนดไว้ในกรอบการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นเรื่องที่กำหนดไว้ในกฎหมายและมติคระรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัด
มติคณะรัฐมนตรีที่ผ่านมา ยังไม่มีการอนุมัติงบประมาณไดๆเพื่อสนับสนุนการทำงานของเอกชน นอกจากกระบวนการทำงานสื่อสารสร้างความเข้าใจและการจัดทำกรอบการบริหารและการพัฒนาพื้นที่ตามนัยมาตรา 10 ซึ่งได้มีการเสนอกรอบการบริหารและพัฒนาพื้นที่ไปให้กรรมยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พิจารณาเมื่อ 31 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา และเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อทราบเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2563 พร้อมนี้ ได้มีการประกาศพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะตามนัยในมาตรา 10 เมื่อ ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา การดำเนินการจึงเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 พร้อมนี้ ในมติก็ให้มีการจัดตั้งกรรมการบริหารเขตพื้นที่ซึ่งก็เป็นองค์ประกอบตามที่มีการเสนอ นั้น จึงเท่ากับว่ากลุ่มผู้คัดค้าน ไม่ได้ศึกษารายละเอียดอะไรเลย เลย นอกจากตั้งใจที่จะมาค้านเท่านั้น
เมื่อต้องดำเนินการตามมาตรา 10 ของพระราชบัญญัตินี้ หน่วยงานที่มีบทบาทการทำงานเพียงหน่วยเดียวในประเทศไทย ก็คือ ศอ.บต. ซึ่งถือเป็นการทำงานที่ถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย
ต่อคำถามที่ว่า ศอ.บต. กำลังเล่นบทบาทที่นำไปสู่การสร้างความขัดแย้งนั้น ก็จะเห็นว่าหลายเรื่องที่เป็นการสร้างข่าวให้ดูน่ากลัวล้วนแล้วแต่มาจากกลุ่มฝ่ายค้านแทบทั้งสิ้น และก็เป็นกลุ่มฝ่ายค้านเดิมที่มีบทบาทการทำงานต่อต้านในหลายปีที่ผ่านมา จนเป็นที่พูดสนุกปากของประชาชนในพื้นที่ว่า “นกเขาไม่ขัน” อยู่ไหม หรือ ต้นไม้จะตาย แต่วันนี้ต้นไม้ก็ยังคงอยู่เช่นเดิม
การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นในวันที่ 11 กรกฎาคม 2562 นี้ เป็นการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อโครงการฯ มิใช่การขอความเห็นชอบหรือให้เห็นด้วยที่จะมีการเปลี่ยนผังสีจากเดิมสีเขียวและชมพู ไปเป็นเขตสีม่วง ทั้งนี้ เพื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้รับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ปัญหาและความห่วงใยของประชาชนไปใช้ในการวางแผนทั้งแผนเชิงรุกและเชิงรับที่ให้เกิดผลบวกมากที่สุดต่อประชาชน
หากพิจารณาเหตุผลทั้ง 10 ข้อแล้ว พร้อมกับรับฟังการชี้แจงของ ศอ.บต. และประชาชนไปพร้อมกันก็จะเห็นความจริงอย่างหนึ่งที่ว่า ต่อให้อธิบายอย่างดีและถูกต้องสักเท่าไร แต่หากจิตใจคนยังปิดกั้นแบบลิง ปิดตา ปิดหู แต่ไม่ปิดปาก ก็ยากจะทำความเข้าใจและไปไม่ถึงข้อมูลที่เป็นจริง ในท้ายที่สุดก็คงต้องยอมรับว่าการทำงานที่ไม่ฟังเหตุผลของฝ่ายตรงข้ามกับการพัฒนาของรัฐเพราะโจทย์ที่มีของเขาชัดเจน คือ “ไม่เอา” พร้อมกับความพยามยามค้านแบบหัวชนฝาโดยจับประชาชนเป็นตัวประกันขึงพรืดด้วยอนาคตของประชาชน ทั้งที่การดำเนินการทั้งหมดมาจากคนในพื้นที่ เป็นประชาชน เป็นพ่อแม่พี่น้องลูกหลานของคนในพื้นที่อย่างแท้จริง จึงเกิดคำถามขึ้นมาดังๆ ว่า “คนนอกมีสิทธิมีเสียงอะไรต่อการกำหนดทิศทางการพัฒนาของพื้นที่” หรือ “ขอโอกาสให้คนในได้กำหนดแนวการพัฒนาด้วยตนเอง” หรือ “อย่าดูถูกประชาชน” ซึ่งมีความสำคัญอย่างมีนัยเพราะการขาดโอกาสการพัฒนาที่ผ่านมา ล้วนมาจากกลุ่มบุคคลเหล่านี้ และบุคคลเหล่านี้ ไม่ได้สร้างประโยชน์การพัฒนาพื้นที่และประชาชนเลย วันนี้ต้องเห็นความจริงจากปากคนในพื้นที่ว่าพื้นที่ขาดทิศทาง การพัฒนาอย่างแท้จริง ทั้งยังขาดโอกาสการพัฒนาทุกมิติ ขาดโอกาสการศึกษา ขาดแหล่งงานอาชีพ จนนำไปสู่การย้ายถิ่นฐานแรงงานรับจ้างขายแรงงานราคาถูกในประเทศมาเลเซีย หรือแหล่งอุตสาหกรรมในภูมิภาคอื่นของประเทศไทย ในขณะที่เยาวชนอีกเป็นจำนวนมากว่างงาน ไม่มีงานทำ ติดยาเสพติด และมีคุณภาพชีวิตบนฐานของความยากจนซึ่งแตกต่างจากแกนนำ เอ็นจีโอ ในพื้นที่ จังหวัดสงขลาที่วันนี้ มีชีวิตที่ดีและมีความสุขไปแล้วนั้นเอง
วันนี้ แกนนำ ผู้ คัดค้านโครงการ เมืองต้นแบบที่ 4 หรือ “เมืองอุตสาหกรรมแห่งอนาคต จึงดิ้นรนทุกวิถีทาง ในการปิดกั้น การรับรู้รายละเอียดของโครงการในพื้นที่ ซึ่ง ศอ.บต. จะจัดให้มี เวทีเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบรายละเอียดของโครงการ ในวันที่ 11 ก.ค. ที่จะถึงนี้ เพื่อให้เป็นข้อมูล ประกอบการตัดสินใจ ในการที่จะ สนับสนุน หรือ คัดค้าน โครงการดังกล่าว ตามขบวนการ รับฟังความคิดเห็น แต่ แกนนำผู้คัดค้าน กลับเตรียมแผนที่จะ ปิดกั้นเพื่อ ล้มเวที เหมือนกับที่เคยทำมาแล้ว ทั้งใน จ.สงขลา , สตูล และ ที่อื่นๆ
ซึ่งแสดงให้เห็นว่า แท้ที่จริงแล้ว แกนนำ เอ็นจีโอ กลัวการรับรู้ข้อมูลของคนในพื้นที่ จึงได้ให้วิธีการที่ไม่ถูกต้องในการ ล้มเวทีการรับรู้ของประชาชน ซึ่งวิธีการนี้คือการพยายามปิดหู ปิดตา ปิดปาก ประชาชน ไม่ให้รับรู้ เพื่อที่จะได้สร้าง เงื่อนไข ให้เห็นว่า โครงการที่จะเข้ามาในพื้นที่ ประชาชน ไม่มีส่วนร่วมรับรู้และแสดงความคิดเห็น เพื่อที่จะให้สังคมนอกพื้นที่เห็นว่า เป็นขบวนการที่ไม่ชอบธรรม ตามที่ แกนนำ เอ็นจีโอ ใช้การการกล่าวหา นั่นเอง
ดังนั้น วันนี้คนใน พื้นที่ อ.จะนะ คนในพื้นที่ จ.สงขลา และคนในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ต้องกล้าที่จะตัดสินใจกับอนาคตของตนเอง และของลูกหลานที่กำลังจบการศึกษา ที่กำลังตกงาน ว่าจะอยู่แบบเดิมๆ โดยที่ไม่มีอะไรที่เป็น อนาคต หรือจะอยู่แบบมี อนาคต กับการมีโครงการขนาดใหญ่ในพื้นที่ ซึ่ง วันนี้ เชื่อว่า ไม่ว่าจะเป็นโครงการเล็ก หรือโครงการใหญ่ ไม่มีใครที่จะ”ปิดฟ้าด้วยผ่ามือ” อีกต่อไป และ ไม่มีใครหลอกใครได้อีกต่อไป เพราะ ทุกคนสามารถที่จะแสวงหาข้อเท็จจริงได้ด้วย สติปัญหาของตนเอง
ดังนั้นการคิดจะปิดกั้น เพื่อมิให้ผู้คนเข้าร่วมรับฟังรายละเอียดของโครงการด้วยการล้มเวที เป็นความคิดที่ล้าหลัง และเป็นการกระทำของ”อันธพาล” ที่ตกยุคไปแล้วนั่นเอง
เมือง ไม้ขม