(รายงานพิเศษ)เมืองต้นแบบที่ 4 เมืองอุตสาหกรรมแห่งอนาคตจะเดินหน้าอย่างไร อยู่ที่การตัดสินใจของคนในพื้นที่

 

(รายงานพิเศษ)เมืองต้นแบบที่ 4 เมืองอุตสาหกรรมแห่งอนาคตจะเดินหน้าอย่างไร อยู่ที่การตัดสินใจของคนในพื้นที่

 

 

การประชุม ครม.สัญจร ที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะ นอกจากจะเห็นชอบในโครงการของ กระทรวงคมนาคม เพื่อก่อสร้าง และ ขยาย ถนน หนทาง เพื่อรองรับการพัฒนาด้านการลงทุน และการท่องเที่ยวกว่า 9 พันล้านบาท เพื่อที่จะอำนวยความสะดวก ในด้านการคมนาคม และการขนส่ง
โดยเฉพาะ จ.นราธิวาส การพัฒนาที่ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นผู้เสนอ ไม่ว่าจะเป็น เขตอุตสาหกรรมฯ ที่จะเกิดขึ้นและยังติดขัดในเรื่องงบประมาณการจัดซื้อที่ดิน ที่เป็นสถานที่ตั้งเขตอุตสาหกรรมฯ ก็ได้รับความเห็นชอบ เช่นเดียวกับการพัฒนาด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก สถานที่ขนส่ง หรือโลจิกติส์ การก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก แห่งที่ 2 การพัฒนาด่านพรมแดนตากใบ อ.ตากใบ ที่ยังล้าหลัง และการต่อยอดปรับปรุงด่านพรมแดน บูเกะตา อ.แว้ง จ.นราธิวาส เพื่อที่จะส่งเสริมการค้าชายแดน ซึ่งมีอยู่แล้ว ให้มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น ซึ่ง ครม. ได้เห็นชอบทั้งหมด ที่ ศอ.บต. ได้นำเสนอไป


ในส่วนของจังหวัดสงขลา มีโครงการใหญ่ที่ ครม. ได้ เห็นชอบ ตั้งแต่ที่ พล.อ.ประยุทธ ยังเป็นนายกรัฐมนตรี ที่มาจาก คสช. นั้นคือ โครงการเมืองต้นแบบที่ 4 เมืองแห่ง”อุตสาหกรรมแห่งอนาคต” ซึ่งเป็น โครงการที่ภาคเอกชนสนใจในการลุงทุนทั้งหมด ภาครัฐเป็นเพียงผู้สนับสนุน บริหารจัดการ ในเรื่อง สาธารณูประโยชน์ เพื่อให้กลุ่มทุน มีความสะดวก และมั่นใจ ถึงความพร้อมของรัฐเท่านั้น
ซึ่งในการเดินทางมาประชุม ครม.สัญจร ครั้งนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบ ให้ ศอ.บต. ดำเนินการ เมืองต้นแบบที่ 4 ที่ อ.จะนะ จ.สงขลา อย่างเต็มที่ ซึ่งในช่วงแรก ศอ.บต. ได้มีการประชุมกับ กรมเจ้าท่า เพื่อดูรายละเอียดในเรื่องของ ท่าเรือน้ำลึกแห่งที่ 2 ของจังหวัดสงขลา เพื่อ”นำร่อง” ในโครงการเมืองต้นแบบที่ 4 เพราะ ท่าเรือน้ำลึก เพื่อการส่งออก คือหัวใจสำคัญ ของการเกิดขึ้นของเมืองต้นแบบที่ 4 ที่ อ.จะนะ จ.สงขลา


เนื่องจาก จุดอ่อน ของการลงทุน การส่งออก สินค้าจากภาคใต้ไปยังต่างประเทศ ท่าเรืองน้ำลึกสงขลา ยังมีปัญหาอุปสรรค ที่ไม่เอื้อต่อการส่งออกตู้คอนเทนเนอร์ ทำให้ผู้ส่งออก ต้องบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ ไปยังท่าเรือปีนัง ประเทศมาเลเซีย หรือไม่ก็ไปขึ้นรถไฟที่สถานี ปาดังเบซาร์ เพื่อเดินทางไปท่าเรือปีนัง เป็นผลให้ การค้า การลงทุน การขายสินค้า ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศที่เป็น คู่แข่ง ซึ่งในอนาคต หากท่าเรือน้ำลึกแห่งที่ 2 ของ สงขลา สามารถสร้างได้จริง นอกจากจะมีรายได้จากการขนส่งตู้สินค้าแล้ว ยังเป็นการลดต้นทุนของ นักลงทุน นักธุรกิจ ที่สามารถลดต้นทุน ทำให้แข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้ด้วย


อุตสาหกรรม เมืองต้นแบบที่ 4 จะเป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคต คือเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว เป็นอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อยู่กับชุมชนได้อย่างมีความสุข โดยการริเริ่มใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟู ดูแลพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้ดีกว่าเดิม เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อพื้นที่ มลภาวะทางอากาศ ทางน้ำ จะได้รับการดูแล ให้ดีกว่าที่เป็นอยู่
วันนี้ ศอ.บต. อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมของประชาชนในพื้นที่ ทั้ง 3 ตำบล ที่เป็นที่ตั้งของ เมืองต้นแบบที่ 4 เช่นมีคณะทำงานที่ลงพื้นที่ ให้ความรู้กับประชาชนเพื่อให้เข้าใจถึงการพัฒนา ที่ประชาชนคือ หุ้นส่วน ในการได้รับผลตอบแทนในทุกด้าน ที่เกิดขึ้นจาก อุตสาหกรรมแห่งอนาคต ที่ทุกเรื่องทุกประเด็นทุกปัญหา ต้องมาจากการตกลงใจของคนในพื้นที่


มีการนำ ผู้แทนภาคประชาสังคม เดินทางไปดูการเกิดขึ้นของ อุตสาหกรรม ต่างๆ ที่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มะละกา ปีนัง และอื่นๆ ในประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีการก่อสร้างและดำเนินการหลายปีแล้ว แต่ประชาชน ไม่ได้รับผลกระทบ และปัญหาสิ่งแวดล้อมได้รับการ ดูแล แก้ไข ด้วย เทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ ที่เกิดขึ้น และนำมาใช้กับ อุตสาหกรรม ที่เกิดขึ้น
มีการนำตัวแทนประชาชน ภาคประชาสังคม ไปดูงานที่ในเขตอุตสาหกรรม อีอีซี ที่ภาคตะวันออก โดย เลขาธิการ อีอีซี ได้ให้ความรู้ ความเข้าใจ ในรายละเอียดของโครงการ และไปดูนิคมอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก เพื่อให้ตัวแทนประชาชน ภาคประชาสังคม ได้เห็นของจริง สภาพพื้นที่เป็นจริง ที่ โรงงานอุตสาหกรรม สามารถที่จะอยู่ร่วมกับชุมชนได้ และชุมชนได้ประโยชน์จากการเกิดขึ้นของ อุตสาหกรรม


วันนี้ ศอ.บต. ได้ขยายผลการสร้างพื้นที่สันติสุขขนาดเล็ก 23 พื้นที่ ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ พื้นที่ ต.นาทับ อ.จะนะ ก็เป็นพื้นที่สันติสุขขนาดเล็ก ซึ่ง ที่ผ่านมา ตัวแทนจาก ศอ.บต. ได้ลงพื้นที่ร่วมคิดร่วมคุยกับประชาชนในพื้นที่และภาคประชาสังคม ในการ”ต่อยอด” ในด้านการส่งเสริมอาชีพ ตามแนวทาง ชุมชนเข้มแข็งจัดการตนเองอย่างมีส่วนร่วม ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมีคุณภาพ ระบบการศึกษาได้มาตรฐาน เน้นการสร้างแรงงานตรงกับความต้องของการตลาด
มีการต่อยอดอาชีพประมงชายฝั่งชุมชนในชุมชน ตามโครงการพื้นที่สันติสุขขนาดเล็ก เพราะอาชีพหลักของชาวนาทับคือการทำประมง มีการดึงกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มสตรี กลุ่ม อสม. ที่ประกอบอาชีพหลักเป็นชาวประมงเรียนรู้วิธีการทำไซดักปู ซึ่งปัจจุบันตลาดมีความต้องการสูง และจำหน่ายได้ราคา ซึ่งกลุ่มได้ติดต่อตลาดในการรับซื้อไว้แล้ว เป็นการทำอาชีพเสริมให้กับชุมชน ในระหว่างฤดูมรสุม และยังมีการต่อยอดในการส่งเสริมอาชีพต่างๆ ที่ประชาชนเป็นผู้คิด และเสนอมา


สำหรับพื้นที่ 3 ตำบลของ อ.จะนะ ซึ่งอยู่ในเขต อุตสาหกรรมแห่งอนาคต คือ ต.นาทับ ต.สะกอม และ ต.ตลิ่งชัน จะได้รับการพัฒนาด้วยการต่อยอดจากอาชีพเดิมที่ทำอยู่ก่อน ซึ่งแต่ละตำบลจะดำเนินการพัฒนาอย่างไร ด้านไหน ศอ.บต. จะให้ประชาชนในพื้นที่คิดกันเอง และการพัฒนาเพื่อการต่อยอด ในพื้นที่ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ โครงการเมืองต้นแบบที่ 4 เพราะเรื่องของ เมืองต้นแบบที่ 4 เมืองอุตสาหกรรมแห่งอนาคต จะเกิดขึ้นได้หรือไม่นั้น อยู่ที่ความต้องการของคนในพื้นที่ ถ้าคนในพื้นที่เห็นด้วยและ ร่วมมือในการขับเคลื่อน ก็จะเกิดได้เร็วขึ้น และเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ และเป็นการได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศชาติ
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่าง การให้ความรู้ ให้รายละเอียด รับฟังความคิดเห็นของคนในพื้นที่ ซึ่งยังต้องใช้เวลาในขบวนการนี้ให้มากที่สุด ประชาชนทุกครัวเรือนต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นักเรียนจำนวน 25,000 คน ต้องได้รับการศึกษา ที่สนองตอบการได้งานทำในพื้นที่ และสิ่งที่ ศอ.บต. ต้องการเห็นคือ เป็นเมืองต้นแบบที่ประชาชนมีส่วนร่วมแห่งแรกของประเทศไทย

นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา
//////////////////////////////////